PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัว เสี่ยงก่อโรคมากมาย

PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัว เสี่ยงก่อโรคมากมาย

 

ถึงแม้ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ของไทยคือ 37.5 มคก./ลบ.ม. แต่รู้ไหมว่าหากเราสูดดมฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าไปนั้นเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 1.5 มวน อีกทั้งยังเสี่ยงก่อโรคต่าง ๆ มากมาย เพราะฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งมีความสามารถในการแทรกซึมเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

 

ทำไม PM 2.5 ถึงเป็นอันตรายต่อมนุษย์?

PM 2.5 คือฝุ่นละอองที่เล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมเกือบ 30 เท่า อีกทั้งยังตัวนำสารพิษร้ายหลายชนิด อาทิ PAH,ปรอท,แคดเมียม,ตะกั่ว และสารหนู ที่สามารถเข้าไปลึกถึงหลอดลมฝอยถุงลมปอด และกระแสเลือดได้ เป็นอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

 

โรคที่มากับ PM 2.5

1. โรคระบบทางเดินหายใจ


2. โรคถุงลมโป่งพอง
(แม้ไม่เคยสูบบุหรี่)

3. โรคผิวหนัง

4. โรคหัวใจและหลอดเลือด

5. โรคเยื่อบุตาอักเสบ

 

กลุ่มเสี่ยงที่ PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (PM 2.5 มากกว่า 37.5 มคก./ลบ.ม.)

  • เด็กปกติ
  • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 6 เดือน
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีปัญหาทางระบบหายใจเรื้อรังเช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรังเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหัวใจ

 

โดย อาจารย์ พญ.พรพรรณ รุจิรกาล กุมารแพทย์ ด้านกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้แนะแนวทางป้องกันและดูแลตนเองดังนี้

 

การป้องกันและดูแลตนเองจากฝุ่น PM 2.5 

  • ควรใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องการออกนอกบ้านซึ่งหน้ากากอนามัย ที่แนะนำคือ N95 หรือระดับเทียบเท่า หรือเป็นหน้ากากอนามัยทั่วไป และสวมหน้ากากผ้าอีก 1 ชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันฝุ่นละอองให้มากขึ้น
  • ใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ต้องมีแผ่นกรองที่สามารถกรองฝุ่นเพื่อช่วยกำจัดฝุ่น PM 2.5 ได้โดยที่เครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้
  • งดกิจกรรมภายนอกอาคาร เมื่อมีค่าเฉลี่ยของฝุ่น 24 ชม. เกิน 50 มคก./ ลบ.ม.

 

สัญญาณเตือนจากการแพ้ฝุ่น PM 2.5 มีดังนี้

 

  • ไอเรื้อรัง นานกว่า 2 สัปดาห์
  • ภูมิแพ้กำเริบ
  • มีตุ่ม ผื่น นูนแดง
  • แน่นหน้าอก 
  • เลือดกำเดาไหลแบบไม่มีสาเหตุ
  • ระคายเคืองตา ตาแดง แสบตา คันตา

 

หากท่านมีอาการดังกล่าว แสดงว่า ‘ฝุ่น PM 2.5’ ได้เข้าไปในร่างกายและกระแสเลือด ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เริ่มเกิดการอักเสบ หากอาการไม่ทุเลาลงให้เข้ารับการตรวจโดยเร็ว ด้วยความห่วงใยจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

 

ขอขอบคุณที่มา

กรมควบคุมมลพิษ

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย