ข้อควรปฏิบัติของเด็กและสตรีตั้งครรภ์ในภาวะวิกฤต PM 2.5 เกินมาตรฐาน
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาด 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผมของมนุษย์ ที่สามารถเข้าถึงถุงลมและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ ได้ผ่านการสูดดม
ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
(ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5)
- มากกว่า 37.5 มคก./ลบ.ม มีผลต่อ เด็กปกติ และหญิงตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 6 เดือน)
- มากกว่า 25 มคก./ลบ.ม. มีผลต่อ เด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหัวใจ โรคภูมิแพ้
อาการระยะสั้น ที่พบได้ คือ
- ระคายเคืองตา น้ำตาไหล
- ไอ มีน้ำมูก
- มีอาการคัดจมูกเหมือนไข้หวัด
- เด็กที่มีโรคประจำตัว อาจมีการกำเริบของโรคได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคหัวใจ
อาการระยะยาว
- ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง
- มีอาการหอบเหนื่อยง่ายขึ้น
- มีความเสี่ยงการเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง และโรคมะเร็งปอด
ระดับคุณภาพอากาศในอาคารที่เหมาะสม คือค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 ไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม.
ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ผ่านแอฟฟลิเคชั่น Air4Thai หรือ Air Visual
เมื่อระดับคุณภาพอากาศภายนอกเกินมาตรฐาน
- ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด โดยระวังอย่าให้ห้องร้อนเกินไป
- ไม่สูบบุหรี่หรือจุดธูป ในอาคาร
- ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ เพื่อช่วยลดปริมาณ PM 2.5 ได้
- งดกิจกรรมภายนอกอาคาร เมื่อมีค่าเฉลี่ยของฝุ่น เกิน 50 มคก./ลบ.ม. หรือพิจารณาหยุดเรียนเมื่อค่าฝุ่นมากกว่า 90 มคก./ลบ.ม. ติดต่อกัน 3 วัน หรือมากกว่า 150 มคก./ลบ.ม. ในวันนั้น
- เมื่อต้องการออกนอนบ้าน แนะนำสวมหน้ากาก N95 หรือที่สามารถกันฝุ่น PM 2.5 ได้
ด้วยความห่วงใย จากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ข้อควรปฏิบัติของเด็กและสตรีตั???งครรภ์ในภาวะวิกฤต PM 2.5 เกินมาตรฐาน | MFU Medical Center Hospital